งานเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ จัดโครงการสัมมนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
โครงการสัมมนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
1. หลักการและเหตุผล
ตามที่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570) กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปสู่การเป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” โดยใช้ความรู้ เทคโนโลยีนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นตัวจักรสำคัญเพื่อการพัฒนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยมีศักยภาพที่โดดเด่นทั้งในด้านที่ตั้ง ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วภูมิภาคด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรบุคคล และองค์ความรู้ในสาขาที่หลากหลาย ความใกล้ชิดและประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่นมาเป็นระยะเวลานาวนาน รวมถึงการมียุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) เป็นทิศทางการขับเคลื่อนที่สำคัญทั้งในระดับชุมชน ระดับภูมิภาค และระดับสากลด้วยวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ มีคุณภาพ สมรรถนะ และเป็นสถาบันหลักที่บูรณาการองค์ความรู้สู่นวัตกรรมในการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ” โดยมีการพัฒนากระบวนการผลิตครูให้มีความสมดุล ทั้งคุณภาพและคุณธรรม ตลอดจนพัฒนานวัตกรรมการศึกษาที่ตอบโจทย์การศึกษาของโลกอนาคตร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล ที่มีเป้าประสงค์สำคัญ ในการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ รองรับการพัฒนาประเทศ สนองความต้องการของตลาดแรงงานและชุมชนท้องถิ่น ผ่านหลักสูตรที่มีความหลากหลายทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บัณฑิตได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน และเปิดกว้างเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา เน้นการเรียนรู้จากข้อเท็จจริง ทำงานได้จริง ปรับตัวได้ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก จึงโครงการสัมมนา “นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” ขึ้น โดยมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษาในจังหวัดสุรินทร์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษา ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. เพื่อนำเสนอระบบบริการนวัตกรรมทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ให้บริการ และบูรณาการความร่วมกันกับภาคการศึกษาในจังหวัดสุรินทร์
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 บุคลากรผู้รับผิดชอบการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน 12 แห่ง แห่งละ 3 ท่าน ดังนี้
3.1.1 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี
3.1.2 มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
3.1.3 มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย
3.1.4 มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
3.1.5 มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
3.1.6 มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
3.1.7 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
3.1.8 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
3.1.9 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
3.1.10 มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ
3.1.11 มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
3.1.12 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3.2 บุคลากรผู้รับผิดชอบการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดภาคการศึกษาภายในจังหวัดสุรินทร์ แห่งละ 1 ท่าน ดังนี้
3.2.1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เเละโรงเรียนในสังกัดภายในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 110 โรงเรียน
3.2.2 คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.)
3.3 ผู้สนใจทั่วไป
4. วิทยากร
4.1.1 รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี แย้มกสิกร
ที่ปรึกษาสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
4.1.2 อาจารย์ ดร.อดุลย์ สนั่นเอื้อเม็งไธสง
อาจารย์สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
4.1.3 อาจารย์ ดร.สิริพันธ์ ดีศีลธรรม
อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
4.1.4 อาจารย์สุวัฒน์ กล้วยทอง
รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
5. วันและสถานที่ดำเนินงาน
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องประชุมช้างเผือก ชั้น 3 อาคารคณะครุศาสตร์ (อาคาร 41) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์